วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก

สวัดดีครับ ชาวพอเพียงทุกท่าน
ผมเชื่อเหลือเกิดว่า ปลาดุกคงเป็นอาหารโปรดของใคนหลายต่อหลายคนอย่างแน่นอน
วันนี้ผมจะมานำเสนอ การเี้ลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติกกันครับ
ก็มีเพียง 4 ขั้นตอนง่ายๆครับ
 มาเริ่มกันเลยดีกว่า
1. จัดเตรียมบ่อ

ลักษณะบ่อเป็นอย่างรูปครับ
ขนาดบ่อ  ยาว 4 เมตร
             กว้าง 1.5 เมตร 
             ลึก 0.5 เมตร
             ลาดชัน 1.2 เมตร
2.การปรับสภาพน้ำในบ่อ
เปิดน้ำใส่บ่อจนเต็ม จากนั้นใส่จุลินทรีย์ EM จำนวน 1 ลิตรผสมกากน้ำตาล 1 โลกรัม
และ แร่แม๊กนีเซียม จำนวน 3 กิโลกรัม ทิ้งใว้ 5-7 วัน เพี่อเป็นการ ปรับสภาพน้ำ และลดการเน่าเสียของน้ำ และแล้วน้ำก็พร้อมที่นะเลี้ยงปลาดุกแล้วครับ
3.ปลาดุกที่เลี้ยงควรใช้ พันธุ์บิ๊กอุย ขนาด 5-7 ซม.จำนวน 1,000-2,000 ตัว เลี้ยง ประมาณ 2-3 เดือนก็พร้อม นำมาขายและประกอบอาหารได้แล้วครับ
4.การผสมอาหารปลาดุก มีดังนี้
 ส่วนผสม
1.รำละเอียด 2 กระสอบปุ๋ย
2.กากมะพร้าว 1 กระสอบปุ๋ย
3.ปลาป่น 6 กิโลกรัม
4.กากถั่วเหลือง 6 กิโลกรัม
5.จุลินทรีย์ EM 1 ลิตร
6.กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
7.น้ำมันพืช 1-2 ลิตร


วิธีทำ
1.นำรำละเอียด 1 กระสอบ กากมะพร้าว ปลาป่น และ กากถั่วเหลือง คลุกเคล้าให้เข้ากัน หลังจากนั้น
2.นำจุลินทรีย์ EM กับกากน้ำตาล ผสมน้ำ 20 ลิตร คลุกเคล้าส่วนผสมกับข้อ 1 หมักทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง
3.นำส่วนผสมที่หมักไว้ ทั้งหมด ผสมกับรำละเีอียดอีก 1 กระสอบที่เหลือ กับน้ำมันพืช 1-2 ลิตร ผสมให้เข้ากัน นำมาอัดเม็ด แล้วผึ่งแดด 2 วัน สามาำรถ เก็บไว้ได้ ประมาณ 2 เีดือน
การดูแลรักษา
ควรมีหลังคา บังแดด ฝน
การให้อาหารปลา
เริ่มแรกให้ใช้อาหารเม็ดเล็ก สับปลาเล็กให้กินได้ รวมทั้ง ตัวปลวก แมลงเม่าและแมลงอื่นๆ
ควรให้ อาหาร 2 มื้อ เช้า-เย็น
การถ่ายเทน้ำ
ทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำเมื่อน้ำเริ่มเสีย ไม่ควรถ่ายน้ำออกหมด ควรเหลือน้ำเก่าใว้ 2/3 ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำหลังให้อาหารแล้วไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง
ลองดูนะครับ เผื่อจะทำให้อยู่ดีกินดีขึ้นครับ







วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การทำเกษตรทฤษฎีใหม่


        การทำเกษตรทฤษฎีใหม่
เป็นทฤษฎีแห่งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการบริหารงานในการทำการเกษตรที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เพื่อแก้ไขปัญหาการเกษตร           
         โดยการแบ่งพื้นที่การเกษตรออกเป็น 4 ส่วน คือ
 
 ส่วนที่หนึ่งขุดสระกักเก็บน้ำ จำนวน 30%ของพื้นที่

 ส่วนที่สอง ปลูกข้าว จำนวน 30% ของพื้นที่
  
ส่วนที่สาม ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น
  
ส่วนที่สี่ เป็นพื้นที่ที่ใช้สร้างสิ่งปลูกสร้างเช่น ที่อยู่อาศัย โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ฉาง จำนวน 10% ของพื้นที่ จำนวนสัดส่วนของพื้นที่นี้ทั้งหมดสามารถปรับเพิ่มหรือลด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสภาพพื้นที่แต่ละแห่ง
  
 ยกตัวอย่างเช่นมีที่นาอยู่ที่ 12 ไร่ จะแบ่งออกเป็น 4 ส่วนดังนี้

        พื้นที่ส่วนที่ 1 จำนวน 3.6 ไร่ ขุดสระกักเก็บน้ำจำนวน 2 สระ สามารถกักเก็บน้ำ

ได้รวม 10,455 ลูกบาศก์เมตร เพียงพอต่อการนำน้ำมาใช้ในการทำการเกษตรได้ทั้งปีแต่การ
ผันน้ำมาใช้นั้น ยังคงต้องใช้เครื่องจักรกลในการสูบน้ำมาใช้ ทำให้สูญเสียพลังงานเชื้อเพลิง
จำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ถ้าสามารถลดการใช้พลังงานลงได้หรือ หาพลังงาน เชื้อเพลิงอื่นทดแทน หรือมีการวางแผนการใช้น้ำ เช่น หากพื้นที่มีระดับที่ต่างกันมาก สามารถวางท่อนำน้ำออกมาใช้โดยไม่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำและน้ำมัน เป็นการจัดการทำให้ต้นทุนการเกษตรลดลงได้ในระยะยาว


    พื้นที่ส่วนที่ 2 ใช้พื้นที่ 3.6 ไร่ (30%) ใช้ปลูกข้าว ดำเนินการในปี 2547 เตรียมดิน หว่านกล้าและปักดำโดยใช้ข้าวจ้าวหอมมะลิ 105 จำนวน 40 กิโลกรัม ทำการกำจัดวัชพืชในนาข้าว โดยการถอน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16 – 20 – 0 จำนวน 30 กิโลกรัมและปุ๋ยเคมีสูตร 40 – 0 – 0 จำนวน 30 กิโลกรัม
 
   พื้นที่ส่วนที่ 3 มีทังหหมด 3.6 ไร่ (30%) ปลูกพืชแบบผสมผสาน

1. พื้นที่จำนวน 2 ไร่ ปลูกมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ จำนวน 50 ต้น

2. พื้นที่จำนวน 0.5 ไร่ ปลูกกล้วยน้ำหว้า จำนวน 60 ต้น

3. พื้นที่จำนวน 0.5 ไร่ ปลูกพืชผัก จำนวน 20 แปลง

4. พื้นที่จำนวน 0.6 ไร่ ปลูกไม้ใช้สอย อาทิเช่น

ต้นสัก จำนวน 30 ต้น

ต้นยูคาลิปตัส จำนวน 80 ต้น

ต้นไผ่รวก จำนวน 10 ต้น

ต้นไผ่ตง จำนวน 5 ต้น

ต้นหวาย จำนวน 30 ต้น

    ส่วนพื้นที่ส่วนที่ 4 นี้มีพื้นที่ 1.2 ไร่ (10%) เป็นพื้นที่สร้างที่อยู่อาศัยและคอกสัตว์


1. สร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ จำนวน 1 หลังขนาด 3*4 เมตร เลี้ยงไก่แล้ว 3 รุ่น จำนวน 200 ตัว คัดไว้เป็นพ่อพันธุ์ จำนวน 2 ตัวและแม่พันธุ์ จำนวน 10 ตัว

2. สร้างโรงเรือนเลี้ยงเป็ดจำนวน 1 หลัง ขนาด 3*4 เมตร ใช้เลี้ยงเป็ด 3 รุ่น จำนวน 129 ตัว คัดไว้เป็นพ่อพันธุ์ จำนวน 2 ตัวและแม่พันธุ์ จำนวน 10 ตัว

3. สร้างโรงเรือนสุกร จำนวน 1 หลัง ขนาด 3.5*19.5 เมตร ดำเนินการเลี้ยงสุกรจำนวน 20 ตัว

4. สร้างศาลาถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวน 1 หลัง ขนาด 3.5*10.5 เมตร ใช้เป็นพื้นที่แสดงและถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป

    ครับเกษตรทฤษฎีใหม่คือแนวทางที่ยั่งยืน เหมาะกับเกษตรกรที่มีพื่นที่ทางการเกษตรค่อนข้างมากพอสมควร สำหรับเกษตรกรที่มีมีพื้นที่ไม่มากนัก  ก็ลองดัดแปลงดูนะครับ ตามอัตราส่วนอย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

ที่มา

http://www.dld.go.th/

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

หญ้าแฝก

ครับวันนี้ลองมาเปลี่ยนบรรยากาศกันบ้างนะครับ ครั้งก่อนๆผมได้นำเสนอพืชน้ำมันไปแล้ว วันนี้จึงสลับมาที่พืชคลุมดินกันบ้าง ซึ่งก็แน่นอนครับ ดินคือปัจจัยหลักๆในการทำเกษตร ถ้าดินมีควมอุดมสมบูรณ์ พืชผลทางการเกษตรก็จะดีตามไปด้วย วันนี้ผมขอเสนอ หญ้าแฝก ครับ

หญ้าแฝก (อังกฤษ:Vetiver Grass ;ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vetiveria Zizanioides Nash) หญ้าแฝก เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตระกูลหญ้าชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไปหลายพื้นที่ตามธรรมชาติ จากการสำรวจพบว่า มีกระจายอยู่ทั่วโลกประมาณ 12 ชนิด และสำรวจพบในประเทศไทย 2 ชนิด


        หญ้าแฝกที่พบในประเทศไทยมีอยู่ 2 สายพันธุ์คือ

        1. กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกลุ่ม ได้แก่ พันธุ์สุราษฎร์ธานี กำแพงเพชร 2 ศรีลังกา สงขลา 3 และพระราชทาน ฯลฯ

        2. กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกดอน ได้แก่ พันธุ์ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยเอ็ด กำแพงเพชร 1 นครสวรรค์ และเลย เป็นต้น

       ลักษนะของหญ้าแฝก
       หญ้าแฝกเป็นหญ้าที่ขึ้นเป็นกอ หน่อเบียดกันแน่น ใบของหญ้าแฝกมีลักษณะ แคบยาว ขอบขนานปลายสอบแหลม ด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าด้านหลังใบ มีรากเป็นระบบรากฝอยที่สานกันแน่นยาว หยั่งลึกในดิน มีช่อดอกตั้ง ประกอบด้วยดอกขนาดเล็กดอกจำนวนครึ่งหนึ่งเป็นหมัน
     
      ประโยชน์ของหญ้าแฝก
1. มีการแตกหน่อรวมเป็นกอ เบียดกันแน่น ไม่แผ่ขยายด้านข้าง
2. มีการแตกหน่อและใบใหม่ ไม่ต้องดูแลมาก
3. หญ้าแฝกมีข้อที่ลำต้นถี่ ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อได้ตลอดปี
4. ส่วนใหญ่ไม่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ทำให้ควบคุมการแพร่ขยายได้
5. มีใบยาว ตัดและแตกใหม่ง่าย แข็งแรงและทนต่อการย่อยสลาย
6. ระบบรากยาว สานกันแน่น และช่วยอุ้มน้ำ
7. บริเวณรากเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์
8. ปรับตัวกับสภาพต่าง ๆ ได้ดี ทนทานต่อโรคพืชทั่วไป
9. ส่วนที่เจริญต่ำกว่าผิวดิน ช่วยให้อยู่รอดได้ดีในสภาพต่างๆ
10.ช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน
11.อนุรักษ์ความชุ่มชื้นใต้ดิน
12.ป้องกันความเสียหายของบันไดดิน
13. ช่วยในการฟื้นฟูดิน

                        วิธีการปลูกหญ้าแฝกแบ่งออกเป็น 8 ลักษณะด้วยกัน
1. การปลูกในระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ การปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวเดี่ยวขวางความลาดชันของพื้นที่ถ้าใช้กล้าแบบรากเปลือยจะปลูกระยะระหว่างต้น 5 เซนติเมตร ถ้าเป็นกล้าถุงพลาสติก ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 10 เซนติเมตร โดยปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวตามแนวระดับ ให้มีระยะห่างระหว่างแถวตาม แนวดิ่งไม่เกิน 2 เมตร ความยาวของแถวหญ้าแฝกขึ้นกับสภาพพื้นที่ และพื้นที่ว่างระหว่างแถวหญ้าแฝกจะเป็นพื้นที่ปลูกพืชหลัก

2. สระน้ำปลูก 2 แถว
- แถวที่ 1 ปลูกห่างขอบบ่อ 50 เซนติเมตร จนรอบบ่อ
- แถวที่ 2 ปลูกที่ระดับทางน้ำเข้า จนรอบบ่อ
3.อ่างเก็บน้ำปลูก 3 แถว
- แถวที่ 1 ปลูกที่ระดับทางน้ำล้นจนรอบอ่าง ยกเว้นบริเวณคันหรือสันอ่างเก็บน้ำ
- แถวที่ 2 ปลูกที่ระดับสูงกว่า แถวที่ 1 ตามแนวดิ่ง 20 เซนติเมตร จนรอบอ่าง ยกเว้นบริเวณคันหรือสันอ่างเก็บน้ำ
- แถวที่ 3 ปลูกที่ระดับต่ำกว่า แถวที่ 1 ตามแนวดิ่ง 20 เซนติเมตร จนรอบอ่าง ยกเว้นบริเวณคันหรือสันอ่างเก็บน้ำ
4. ปลูกริมคลองส่งน้ำ 1 แถว ห่างขอบคลองส่ง 30 เซนติเมตร
5 ปลูกบนร่องสวน 1 แถว ห่างขอบแปลง 30 เซนติเมตร
6. ปลูกอยู่บนไหล่ถนน 1 แถว สำหรับถนนหรือทางลำเลียง
7. ปลูกครึ่งวงกลมล้อมต้นไม้
- ต้นไม้ขนาดเล็ก รัศมีขนาด 1 เมตร เป็นระยะทาง 3 เมตร
- ต้นไม้ขนาดกลาง รัศมีขนาด 2 เมตร เป็นระยะทาง 6 เมตร
- ต้นไม้ขนาดใหญ่ รัศมีขนาด 3 เมตร เป็นระยะทาง 9 เมตร
8. ปลูกวงกลมล้อมต้นไม้
- ต้นไม้ขนาดเล็ก รัศมีขนาด 1 เมตร เป็นระยะทาง 6 เมตร
- ต้นไม้ขนาดกลาง รัศมีขนาด 2 เมตร เป็นระยะทาง 12 เมตร
- ต้นไม้ขนาดใหญ่ รัศมีขนาด 3 เมตร เป็นระยะทาง 18 เมตร
การปลูกหญ้าแฝกทุกครั้งจะต้องปลูกให้ต้นชิดติดกันเป็นแถว ไม่ว่าจะเป็นกรณีแถวตรงหรือแถวโค้งรอบต้นไม้ก็ตาม ถ้าใช้กล้าถุงมีระยะปลูกระหว่างต้น 10 เซนติเมตร และกล้ารากเปลือยระยะปลูก 5 เซนติเมตร
         การปลูกหญ้าแแฝกในสภาพพื้นที่ต่างๆ
      1. การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ลาดชัน ควรปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวตามแนวระดับขวางความลาดเทในต้นฤดูฝน โดยการทำแนวร่องปลูกตามแนวระดับ ใช้ระยะระหว่างต้น 5 เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือยและระยะ 10 เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง ระยะห่างแถวตามแนวดิ่งไม่เกิน 2 เมตร หญ้าแฝกจะเจริญเติบโตแตกกอชิดกันภายใน 4-6 เดือน

      2. การปลูกเพื่อควบคุมร่องน้ำและกระจายน้ำ นำกล้าหญ้าแฝกในถุงพลาสติกที่มีการแตกกอและแข็งแรงดีแล้วไปปลูกในร่องน้ำ โดยขุดหลุมปลูกขวางร่องน้ำ เป็นแนวตรง หรือแนวหัวลูกศรชี้ย้อนไปทิศทางน้ำไหลอาจใช้กระสอบทรายหรือก้อนหิน ช่วยทำคันเสริมฐานให้มั่นคงตามแนวปลูกหญ้าแฝก ระยะห่างระหว่างต้น 5 เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือย และ 10 เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง และระหว่างแนวปลูกหญ้าแฝกไม่เกิน 2 เมตร ตามแนวตั้งหลังจากเกิดคันดินกั้นน้ำควรปลูกหญ้าแฝกต่อจากแนวคันดินกั้นน้ำออกไปทั้งสองข้าง เพื่อเป็นการกระจายน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูก
     3. การปลูกเพื่อรักษาความชุ่มชื้นในสวนผลไม้ ควรปลูกหญ้าแฝกในสวนผลไม้ระยะที่ไม้ผลยังไม่โต หรือปลูกก่อนที่จะลง ไม้ผล โดยปลูกแถวหญ้าแฝกขนานไปกับแถวของไม้ผลที่ระยะกึ่งกลางของแถวไม้ผล หรือปลูกเป็นรูปครึ่งวงกลมให้ห่างจากโคนต้นไม้ผล 2.5 เมตร เพื่อไม้ผลเจริญเติบโตขึ้นมาคลุมพื้นที่ หญ้าแฝกจะตายไปกลายเป็นอินทรียวัตถุในดินต่อไป
     4. การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ดอนที่ปลูกพืชไร่ การปลูกหญ้าแฝกตามแนวระดับในพื้นที่ดอนที่ปลูกพืชไร่ โดยการขุดร่องปลูกตามแนวระดับ ระยะห่างระหว่างต้น 5 เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือย และ 10 เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง ควรใช้ปุ๋ยหมักรองพื้นก่อนปลูกหญ้าแฝก หรือปลูก หญ้าแฝกเป็นแนวระหว่างแถวปลูกพืชไร่ และควรปลูกในสภาพดินที่มีความชุ่มชื้นในช่วงต้นฤดูฝน
     5. การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ราบหรือพื้นที่ลุ่ม ในสภาพพื้นที่ราบหรือพื้นที่ลุ่มที่มีการปรับสภาพเป็นแปลงยกร่องเพื่อปลูกพืชนั้น สามารถปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวรอบขอบเขตพื้นที่ หรือปลูกที่ขอบแปลงยกร่องหญ้าแฝกจะช่วยยึดดินไม่ให้พังทลาย และรักษาความชื้นในดินเอาไว้
    6. การปลูกรอบขอบสระเพื่อกรองตะกอนดิน ควรปลูกตามแนวที่ระดับน้ำสูงสุดท่วมถึง 1 แนว และปลูกเพิ่มขึ้นอีก 1-2 แนวเหนือแนวแรก ซึ่งขึ้นอยู่กับความลึกของขอบสระ ระยะห่างระหว่างต้น 5 เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือย และ 10 เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง โดยขุดหลุมปลูกต่อเนื่องกันไป ในระยะแรกควรดูแลปลูกซ่อมแซมให้แถวหญ้าแฝกเจริญเติบโตหนาแน่นเมื่อน้ำไหลบ่ามาลงสระตะกอนดินที่ถูกพัดพามากับน้ำ จะติดค้างอยู่กับแถวหญ้าแฝก ส่วนน้ำจะค่อย ๆ ไหลผ่านลงสู่สระและระบบรากของหญ้าแฝกยังช่วยยึดติดดินรอบ ๆ ขอบสระไม่ให้เกิดการ พังทลาย
          ครับหลังจากได้ลองพิจรณาดูแล้วหญ้าเล็กๆครับคุณปรระโยชน์มากมายเหลือเกินนะครับ
ถ้าเกยตกร หรือ ลูกหลานเกษตกร ที่มีความรู้ได้นำประโยชน์จากหญ้าแฝกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ รับรองได้เลยครับ ปัญหาต่างๆที่เกิดกับดินรวมไปถึง ปัญหาความแห้งแล้งปลูกอะไรก็ไม่ขึ้นนั้นจะหมดไป แรกๆอาจจะยังไม่เห็นชัดเท่าไหร่ครับ แต่พอเราทำไปเลื่อยๆแบบต่อเนื่องผมเชื่อครับว่าต้องสำเร็จแน่นอน

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ปาล์มน้ำมัน

คราวที่แล้วเราได้กล่าวถึง สบู่ดำไปแล้ว และวันนี้เราจะมากล่าวถึง ปาล์มน้ำมันกันนะครับ

     ปาล์มน้ำมัน (Oil palm) เป็นพืชตระกูลปาล์มลักษณะลำต้นเดี่ยว ขนาดลำต้นประมาณ 12 -20 นิ้ว เมื่ออายุประมาณ 1-3 ปี ลำต้นจะถูกหุ้มด้วยโคนกาบใบ แต่เมื่ออายุมากขึ้นโคนกาบใบจะหลุดร่วงเห็นลำต้นชัดเจน ผิวของลำต้นคล้ายๆ ต้นตาล ลักษณะใบเป็นรูปก้างปลา โคนกาบใบตะมีลักษณะเป็นซี่ คล้ายหนามแต่ไม่คมมาก เมื่อไปถึงกลางใบหนามดังกล่าวจะพัฒนาเป็นใบ การออกดอกเป็นพืชที่แยกเพศ คือต้นที่เป็นเพศผู้ก็จะให้เกษรตัวผู้อย่างเดียว ต้นที่ให้เกษรตัวเมียจึงจะติดผล

   ลักษณะผลเป็นทะลายผลจะเกาะติดกันแน่นจนไม่สามารถสอดนิ้วมือเข้าไปที่ก้านผลได้ เวลาเก็บผลปาล์มจึงต้องใช้มีดงอเกี่ยวที่โคนทะลายแล้วดึงให้ขาด ก่อนที่จะตัดทะลายปาล์มต้องตัดทางปาล์มก่อนเพราะผลปาล์มจะตั้งอยู่บนทางปาล์ม กระบวนการตัดทาง(ใบ)ปาล์มและตัดเอาทะลายปาล์มลง เรียกรวมๆ ว่า แทงปาล์ม ปาล์มน้ำมันจัดเป็น พืชเศรษฐกิจ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอัฟริกา เป็นพืชที่ให้ผลผลิต น้ำมันต่อหน่วยพื้นที่สูงกว่าพืชน้ำมันทุกชนิด
   สามารถนำมาแปรรูปทำเป็นน้ำมันปาล์มประกอบอาหาร เนย รวมถึงเป็นส่วนผสมในไบโอดีเซลด้วย ใบมาบดเป็นอาหารสัตว์ กะลาปาล์มเป็นวัตถุดิบเชื้อเพลิง ทะลายปาล์มใช้เพาะเห็ด และกระทั่งการปลูกลงดินไปแล้วก็ช่วยในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในการช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย
   ในประเทศไทยมีการปลูกทั้งทางภาคใต้และภาคตะวันออก พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก เป็นปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอรา โดยเฉพาะที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ช่วงปี 2547 - 2550 มีการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่นาร้าง โดยกรมพัฒนาที่ดิน มีการขุดร่องให้ฟรี ให้พันธุ์และปุ๋ย โดยให้เหตุผลในการส่งเสริมการปลูกเนื่องจากเป็นปาล์มที่ให้นำมันใช้ได้ทั้งการบริโภคและใช้เป็นไบโอดีเซลได้
    ปัจจุบัน ประเทศที่ผลิตและส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดในโลกคือประเทศมาเลเซีย ผลิตเป็นสัดส่วนมากถึงร้อยละ 47 ของการผลิดของโลก
     การใช้ประโยชน์
1. น้ำมันปรุงอาหาร
2. มาการีนหรือเนยเทียม
3. น้ำมันสำหรับทอด (Frying Fat)
4. เนยขาว
5. น้ำมันปาล์มเติมไฮโดรเจน (Hydrogenated Palm Oil)
6. นมข้นหวาน
7. ไอศครีม
8. ครีมเทียมและนมเทียม
9. กรดไขมันอิสระ (Palm Fatty Acid Distilled PEAD)
10. สบู่ น้ำมันปาลืมสามารถนำมาใช้ผลิตสบู่ได้ ทั้งสบู่ฟอกร่างกายและสบู่ซักล้าง การทำสบู่มีหลายสูตร ยกตัวอย่างสูตรทำสบู่ฟอกร่างกายสูตรหนึ่งใช้ปาล์มสเตียรีนร้อยละ 40 น้ำมันปาล์มร้อยละ 40 และใช้น้ำมันเมล็ดในปาล์มหรือน้ำมันมะพร้าวร้อยละ 10
   เห็นไหมครับว่า ประเทศเรามีทรัพยากรณ์มากมายแค่ไหน ถ้าเรารู้จักการจัดการนำทรัพยากรณ์เหล่านั้นมาใช้อย่างถูกวิธี ผมเชื่อครับว่าเราแทบจะไม่ต้องนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเลยครับ เพราะเรามีในประเทศของเราแล้ว ที่นีก็ขึ้นอยู่กับเราแล้วหล่ะครับ ว่าเราจะนำทัพยากรณ์เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ได้มากแค่ไหนครับ
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
http://th.wikipedia.org
http://www.doae.go.th/plant/palm.htm

วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สบู่ดำ

วันนี้เรามารู้จักกับสบู่ดำกันดีกว่าครับ
สบู่ดำ (วิทยาศาสตร์:Jatropha Curcas Linn.   อยู่ในวงศ์ไม้ยางพารา  ลักษณะเป็นพุ่มยืนต้น สูงประมาณ 2-7 เมตร อายุโดยเฉลี่ย20 ปี ลำต้นและยอดคล้ายละหุ่ง แต่ไม่มีขน  เมื่อหักลำต้น ส่วนยอดหรือส่วนก้านใบจะมียางสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนม มีกลิ่นเหม็นเขียว
               ลักษณะของดอกสีเหลืองมีกลิ่นหอมอ่อนๆ เป็นช่อกระจุกที่ข้อส่วนปลายของยอดขนาดดอกเล็กมีดอกตัวผู้จำนวนมากและดอกตัวเมียจำนวนน้อยอยู่บนต้นเดียวกัน
              ส่วนเมล็ดและผล เมล็ดมีสาร hydrocyanic เมล็ดสบู่ดำมีสารพิษเรียกว่า CURCIN หากบริโภคแล้วทำให้เกิดอาการท้องเดินเหมือนสลอด เมื่อติดผลแล้วมีสีเขียวอ่อนเกลี้ยงเกลาป็นช่อพวงมีหลายผล เวลาสุกแก่จัดมีสีเหลืองคล้ายลูกจันทร์ รูปผลมีลักษณะทรงกลมขนาดปานกลาง เปลือกหนาปานกลาง
ผลหนึ่งส่วนมากมี 3 พู โดยแต่ละพูทำหน้าที่ห่อหุ้มเมล็ดไว้ เมล็ดสีดำขนาดเล็กกว่าเมล็ดละหุ่งพันธุ์ลายขาวดำเล็กน้อย สีตรงปลายเมล็ดมีจุดสีขาวเล็กๆ ติดอยู่ เมื่อเก็บไว้นานจุดนี้จะหดตัวเหี่ยวแห้งลงขนาดของเมล็ดเฉลี่ย ความยาว 1.7-1.9 ซม. หนา 0.8-0.9 ซม. น้ำหนัก 100 เมล็ดประมาณ 69.8 กรัม เมื่อแกะเปลือกนอกสีดำออกจะเห็นเนื้อในสีขาว
               ต้นสบู่ดำเป็นสมุนไพรรักษาโรคได้หลายโรค เช่น ใช้น้ำยางใสป้ายริมฝีปากรักษาโรคปากนกกระจอก รักษาแผลในปาก แก้อาการปวดฟัน นำมาผสมกับน้ำนมมารดาป้ายลิ้นขาวในเด็กก็หาย หยอดตาแดงหายได้เช่นกัน หรือผสมกับน้ำเจือจางเป็นยาระบาย
             ส่วนลำต้นนำมาผ่าสับเป็นท่อนแช่น้ำอาบแก้โรคซางในเด็ก แก้โรคคันได้ เอาใบสบู่ดำห่อข้าวสุกแล้วหมกขี้เถ้าให้เด็กกินแก้ตาแฉะ หรือนำมาห่ออิฐร้อนนาบท้องในหญิงคลอดบุตรอยู่ไฟสมัยก่อน รวมทั้งประชาชนบางประเทศใช้น้ำมันสบู่ดำใส่ผมด้วย
น้ำมันสบู่ดำ
             และน้ำมันจากเมล็ดสบู่ดำนั้นสามารถนำไปผลิตเป็นไบโอดีเซล ทดแทนน้ำมันดีเซลได้ หรือที่เราเรียกกันว่า พลังงานทดแทนนั่นเองครับ
             ตรงนี้หล่ะครับสำคัญ ถ้าเราผลิตน้ำมันจากเมล็ดสบู่ดำในเชิงอุตสาหกรรมได้จริง คนทีได้รับประโยชน์จากตรงนี้ เริ่มจากเกษตกร คนใช้รถทั่วไป รววมถึงประเทศเราเลยนะครับที่ไม่ต้องนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศอีกต่อไปครับ และยังช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกนะครับขอบอก เป็นไงหล่ะครับ ทันกับยุคเขาจริงๆ
                             ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://th.wikipedia.org/

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ที่มาที่ไป

"ในนำมีปลาในนามีข้าว"ประโยคนี้พอเอ่ยขึ้นมา คงมีหลายคนคุ้นหูบ้างนะครับ แน่นอนครับ ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมมาตั่งเเต่สมัยโบราญนานมาแล้ว และตอนนี้ก็ยังเป็นอยู่เหมือนเดิมครับ ดูจากสถิติที่ไทยเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าทางการเกษตร เป็นอันดับ หนึ่ง ของโลก เหตุผลที่สำคัญที่ประเทศไทยเราทำได้ก็เพราะ ประเทศเรามีภูมิประเทศที่เหมาะสมกับการทำเกษตร
ไม่เหมือนประเทศเพื่อนบ้าน ที่แต่ละปีเราจะได้ยินข่าวอยู่เสมอว่ามีมรสุมเข้า ซึ้งเข้ามาแต่ละทีก็ทำให้พื่นที่เกษตรกรรมของประเทศเหล่านั้น ได้รับความเสียหายอย่างมากครับ ดังนั้นประเทศไทยของเราจึงโชคดีกว่าหลายๆประเทศครับ และทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับแนวทางการเกษตรของเราแล้วหล่ะครับว่าจะเดินทางไปทางไหน ถึงจะยังยืนต่อไป
การทำเกษตรของเราตอนนี้ ดูเหมือนว่าจะเป็นการทำที่ถอยหลังลงคลองกันแทบทั่งสิ้นครับ
ที่ผมคิดอย่างนั่นก็เพราะว่า เราผึ่งพาสารเคมีในการทำการเกษตรมากเกินไปครับ จึงเป็นผลทำให้สิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ต่อดินหายไป ส่งผลทำให้ดินตาย ขาดคุณภาพ ด้วยเหตุนี้ผมซึ่งเป็นลูกเกษตรคนหนึ่งจึงอยากนำเสนอแนวทางเกษตรอินทรีย์ เกษตรยั่งยืน ให้พี่ น้อง ชาวเกษตรได้ลองนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติดูครับ

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เกษตรพอเพียง

สวัสดีชาวเกษตรทุกท่าน